เมนู

ความรู้แตกฉานในชาติ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในภพ ฯลฯ ความรู้
แตกฉานในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้แตกฉานในตัณหา ฯลฯ ความรู้แตกฉาน
ในเวทนา ฯลฯ ความรู้แตกฉานในผัสสะ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในสฬายตนะ
ฯลฯ ความรู้แตกฉานในนามรูป ฯลฯ ความรู้แตกฉานในวิญญาณ ฯลฯ
ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในเหตุ
เกิดแห่งสังขาร ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในความดับแห่ง
สังขาร ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในปฏิปทาอันเป็นเหตุให้
ถึงความดับแห่งสังขารชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าว
ธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย.
ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

5. ปริยัตติธรรมวาระ


[783] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา
2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ในปฏิสัมภิทา 4 เหล่านั้น ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมรู้แตกฉานซึ่งธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา-
กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ นี้เรียกว่า
ธัมมปฏิสัมภิทา ภิกษุนั้น ย่อมรู้แตกฉานอรรถแห่งภาษิตนั้น ๆว่า นี้เป็น
อรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา
ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้
แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
สุตตันตภาชนีย์ จบ

อภิธรรมภาชนีย์


แจกปฏิสัมภิทา 4 ด้วยกามาวจรกุศลจิต 8


[784] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา
2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม
เป็นกุศล
ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้
แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่ง
ธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น
ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า
ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา
2. ธัมมปฏิสัมภิทา